top of page

พิธีเปิดงาน “Youth Power ขับเคลื่อน Soft Power”

วันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2566

ณ ห้อง Auditorium ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

413932856_677059817950337_485803675085492306_n.jpg

คุณเอริกา เมษินทรีย์ เช็น ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม Youth In Charge ได้กล่าวถึงสมการการขับเคลื่อน Soft Power ของ Youth In Charge ผ่าน 3 พลังสำคัญที่ไม่เคยถูกร้อยเรียงหรือเชื่อมโยงเข้าด้วยกันมาก่อน นั้นคือ

1) พลังคนรุ่นใหม่ เป็นกลุ่มคนสำคัญที่เชื่อมภาพปัจจุบันกับอนาคตเข้าด้วยกัน นอกจากนี้เยาวชนคือ Soft Power ในตัวเองที่กระจายตัวอยู่ในทุกพื้นที่ สามารถเชื่อมพื้นที่บ้านเกิดของเขากับโลกภายนอก ในขณะเดียวกันก็สามารถเชื่อมโลกภายนอก กระแสการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เข้ามาในพื้นที่ได้

2) พลังของพื้นที่ กล่าวคือความรุ่มรวยและความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ซ่อนตัวอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยเยาวชนจะเป็นผู้ร้อยเรียงและเจียระไน ดังนั้นแล้วการเชื่อมโยงเยาวชนกับพื้นที่จึงเป็นโจทย์สำคัญของ Youth In Charge ในการขับเคลื่อน Soft Power แต่ 2 พลังนี้ยังไม่เพียงพอเพราะยังต้องมี

3) พลังของภาคีเครือข่าย ที่จะช่วยต่อยอดและผลักดันการขับเคลื่อนของเยาวชน Youth In Charge เชื่อว่าเยาวชน คือ คนกลุ่มคนที่เป็นทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต รวมถึงผู้ประกอบการ ที่จะทำให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ของไทยเข้มแข็งมากขึ้น พวกเขาสามารถสืบสานสิ่งเก่า ต่อยอดสิ่งปัจจุบัน และสร้างสิ่งใหม่ผ่านการทำงานร่วมกับเยาวชนด้วยกันเอง ทำงานร่วมกับคนและหน่วยงานในท้องถิ่น ตลอดจนทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชน เพื่อแปลง “คุณค่า” ในพื้นที่ให้เป็นอาชีพและรายได้อย่างยั่งยืน  "นอกจากนี้ Youth In Charge ยังได้สร้างเครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่ขับเคลื่อน Soft Power  หรือ Soft Power Ambassadors เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและต้นแบบการขับเคลื่อน Soft Power ให้กับเยาวชน และพิสูจน์ว่านโยบาย Soft Power ที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อนอยู่มีความเป็นรูปธรรมและเป็นอาชีพได้จริง"

งาน Youth Power ขับเคลื่อน Soft Power นอกจากจะนำเสนอเรื่องราวของ Soft Power แล้วก็ตั้งใจให้เยาวชนได้เห็นบทบาทของตนเองในฐานะภาคีสำคัญในการขับเคลื่อนวาระสำคัญต่าง ๆ ของชาติทั้งเรื่อง Soft Power และวาระอื่น ๆ งาน Youth Power ขับเคลื่อน Soft Power จึงเป็นการหาจุดเด่น สร้างจุดร่วม นำไปสู่จุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อน Soft Power ข้ามช่วงวัย ข้ามพื้นที่ และข้ามภาคส่วนอย่างแท้จริง

413991937_677059837950335_5338195474226716435_n.jpg

คุณแพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ได้แสดงวิสัยทัศน์การขับเคลื่อน Soft Power ประเทศไทย ผ่านการดำเนินงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ โดยระบุว่ารัฐบาล คือ Facilitator หรือผู้อำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชนที่เชี่ยวชาญในการดำเนินงานอย่างแท้จริง เพื่อร่วมกับขับเคลื่อน Soft Power และหารายได้เข้าสู่ประเทศ โดยการดำเนินงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ได้พัฒนาต่อยอดมาจากการจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative and Design Center : TCDC) อุทยานการเรียนรู้ หรือ TK Park และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP นอกจากนี้ยังมีนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก ที่เริ่มต้นการบ่มเพาะและส่งออกเชฟอาหารไทยเพื่อเปิดร้านในต่างประเทศ ตลอดจนแคมเปญกรุงเทพเมืองแฟชั่น ที่ทำให้ชาวต่างชาติได้เห็นถึงศักยภาพของ

ดีไซเนอร์และวัสดุของประเทศไทย โดยได้พัฒนาและต่อยอดเพื่อสร้างความยั่งยืนในการขับเคลื่อน Soft Power มาสู่นโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟท์พาวเวอร์ หรือ OFOS การจัดตั้ง Thailand Creative Content Agency หรือ THACCA เพื่อพัฒนาและผลักดัน Soft Power ตั้งแต่ 1) ต้นน้ำ คือการพัฒนาคน อาทิ หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งเชฟอาหารไทย โดยใช้ความเชี่ยวชาญของภาคเอกชนมาอบรมบ่มเพาะเรื่องอาหารแก่คนในพื้นที่ เป็นต้น 2) กลางน้ำ คือ การพัฒนา One Stop Service ปลดล็อคกฎหมาย และเพิ่มมาตรการส่งเสริมการผลิต 3) ปลายน้ำ คือ นโยบายการต่างประเทศ เพื่อสร้าง Branding ในการส่งออกอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยได้ยกตัวอย่างโครงการที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อน มหกรรมเทศกาล World Water Festival หรือ The Songkran Phenomenon ยกระดับงานสงกรานต์ประเทศไทยสู่เทศกาลระดับโลก ผ่านการร้อยเรียงประเพณีสงกรานต์อย่างเป็นระบบและไฮไลท์กิจกรรมที่โดดเด่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลอดทั้งเดือนเมษายนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย คุณแพทองธารกล่าวทิ้งท้ายว่าการขับเคลื่อน Soft Power คือ นโยบายระยะยาว ที่ต้องการพลังของเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศ เพื่อให้การขับเคลื่อน Soft Power ได้สร้างการมีส่วนร่วมแก่ทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง

จากนั้นเป็นการเสวนาในหัวข้อ “การสร้างระบบนิเวศเพื่อพัฒนาศักยภาพ เพิ่มบทบาท และสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการขับเคลื่อน Soft Power” โดย 1) คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการ มูลนิธิเอสซีจี 2) คุณพรวิช ศิลาอ่อน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 3) คุณอินทพันธุ์ บัวเขียว รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA 4) คุณอภิญานันท์ จงภักดี Soft Power Ambassador ของ Youth In Charge Drag Queen และเจ้าของห้องเสื้อทอไหมสตูดิโอ และ 5) คุณสุทธิภัทร เกตุแก้ว ตัวแทนเยาวชนผู้ขับเคลื่อน Soft Power จากแพลตฟอร์ม Youth In Charge

คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กล่าวว่ามูลนิธิเอสซีจีดำเนินงานเพื่อพัฒนาเรื่องการศึกษาและเยาวชนมาโดยตลอด ทำให้เห็นถึงความสำคัญของศักยภาพของเยาวชนที่มีอยู่ล้นเหลือแต่ยังขาดการสนับสนุน โดยมูลนิธิเอสซีจีได้สร้างระบบนิเวศที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนับสนุนความฝันและอาชีพของเยาวชน ผ่านการสร้างเครือข่าย พัฒนา และดึงศักยภาพของเยาวชนแต่ละคนมาเติมเต็มซึ่งกันและกัน เพราะมูลนิธิเอสซีจี เชื่อว่าทุกคนและทุกภาคส่วน คือ จิ๊กซอว์ที่จะช่วยกันเติมเต็มการขับเคลื่อน Soft Power โดยพลังของเยาวชน คือ จิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ

คุณพรวิช ศิลาอ่อน กล่าวต่อว่าภารกิจของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นภารกิจปลายน้ำ คือการส่งเสริมผลักดันสินค้า บริการ ตลอดจนผู้ประกอบการการไทยในตลาดและเวทีโลก เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในสายตาชาวโลก รวมถึงเป็นหนึ่งในคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมีระบบนิเวศในการพัฒนาทักษะและศักยภาพของผู้ประกอบการหรือเยาวชนให้สามารถต่อยอดหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านหลักสูตรการอบรมและโครงการบ่มเพาะของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินงานได้อย่างตอบโจทย์ตลาดโลกมากยิ่งขึ้น และหวังว่าในอนาคตกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจะเป็นหนึ่งในองคาพยพที่ส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อน Soft Power ประเทศไทยไปสู่สากลต่อไป

 คุณอินทพันธุ์ บัวเขียว กล่าวว่าสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้บูรณาการทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชนมาโดยตลอด โดยได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 4 มิติ ได้แก่ 1) การสร้างแพลตฟอร์มเพื่อพัฒนาทักษะและศักยภาพแก่ทั้งเยาวชนและบุคลากรวิชาชีพ ผ่านการบ่มเพาะระยะยาว อาทิ Content Lab และ Story Lab 2) การพัฒนา Virtual Production เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์และสื่อบันเทิง โดยดำเนินงานร่วมกับ 12 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศในการพัฒนาศักยภาพของเยาวชน รวมถึงดำเนินงานร่วมกับคณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ สาขาดนตรี เพื่อพัฒนา Music Talent ให้มีโอกาสได้แสดงในเวทีต่างประเทศ และดึงโปรดิวเซอร์จากต่างประเทศมาชมความสามารถของคนไทย ตลอดจนพัฒนาแคมเปญ Talent Everywhere เพื่อส่งเสริมการแสดงความสามารถและศักยภาพของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในทุกพื้นที่

สามารถออกใบรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อรองรับความสามารถซี่งจะนำไปสู่ค่าแรงที่เพิ่มมากขึ้น 3) สร้าง Creative Space พื้นที่นำเสนอผลงานโดยดำเนินงานร่วมกับสมาคมวิชาชีพ Korea Creative Content Agency (KOCCA) Taiwan Creative Content Agency (TAICCA) และ Alliance Française เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างเยาวชนกับตลาดและผู้คนจากต่างประเทศ  4) ขยายศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative and Design Center : TCDC) ทุกจังหวัด ซึ่งเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เยาวชนเข้ามาเรียนรู้กับอุตสาหกรรม Soft Power และเป็นพื้นที่ทดลองหรือห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับการพัฒนาทักษะเฉพาะแต่ละพื้นที่

คุณอภิญานันท์ จงภักดี กล่าวว่าการได้ร่วมกับ Youth In Charge ทำให้เห็นว่าการดำเนินงานของตนเองมีคุณค่าและเป็นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนได้อย่างดี ด้านระบบนิเวศคุณอภิญานันท์เห็นว่าการมีพื้นที่ได้แสดงศักยภาพเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง ในฐานะคนที่เติบโตมาจากต่างจังหวัดการได้รับโอกาสหรือมีพื้นที่ได้แสดงศักยภาพและผลงานเกิดขึ้นได้ยาก ทำให้ค้นหาตัวตนได้ช้า ต้องคอยวิ่งหาโอกาสอยู่เสมอ แต่ Youth In Charge ได้สร้างพื้นที่ให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ได้เจอกับเยาวชน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำงานร่วมกัน โดยคุณอภิญานันท์ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า Soft Power Ambassadors ทั้ง 50 คนที่ Youth In Charge ได้เฟ้นหาจากหลากหลายพื้นที่เป็นคนตัวเล็ก ๆ ที่รอให้คนมาค้นพบและหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และ Soft Power Ambassadors ทุกคนพร้อมที่จะส่งต่อให้ความรู้และสิ่งดี ๆ ให้กับเยาวชน

คุณสุทธิภัทร เกตุแก้ว ได้กล่าวว่า Soft Power หมายถึง กระจาย วัตถุดิบทางวัฒนธรรม เพื่อกระตุ้น การรับรู้ตัวตนด้วยกระแสของสังคมที่เป็นพลวัต โดยเปรียบเทียบประเทศไทยเป็นร้านอาหาร มีวัตถุดิบ คือ ทุนทางวัฒนธรรม แต่ในการสร้าง Soft Power มีเพียงวัตถุไม่เพียงพอ ต้องมีกลยุทธ์และกระบวนการที่เป็นรูปธรรมเปรียบเสมือนวิธีการทำอาหารที่เหมาะสมสำหรับวัตถุดิบ โดบมีรัฐบาลเป็นหัวหน้าพ่อครัวทำหน้าที่ควบคุมการดำเนินงานทั้งหมด เพื่อเสิร์ฟอาหาร กระจายวัฒนธรรมให้ทั่วโลกได้รับรู้ จดจำ และนึกถึงประเทศไทย คุณสุทธิภัทรสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการขับเคลื่อน Soft Power ที่ไม่ใช่แค่การแสดงความคิดเห็น แต่ต้องเป็นการร่วมตัดสินใจและร่วมกันทำ โดย Youth In Charge คือสะพานที่จะเชื่อมกระบวนการมีส่วนร่วม และเปรียบเทียบ Youth In Charge เป็นไกด์บุค หนังสือที่แนะนำวิธีการดำเนินงาน ซึ่งมีหน้ากระดาษเปล่าสำหรับเยาวชนในการแสดงความคิดเห็นและแสดงศักยภาพ และเชื่อว่าจะเป็นกุญแจในการปลดล็อคการขับเคลื่อน Soft Power ประเทศไทย

คุณสุทธิภัทรกล่าวทิ้งท้ายว่า “สิ่งที่ผมและเยาวชนหลาย ๆ คนเฝ้าคอย คือ Made by Thailand การที่ประเทศไทยเป็นผู้นำและผู้ริเริ่ม โดยประเทศไทย เพื่อประเทศไทย และคงอยู่ในสายตาเวทีโลกอย่างยั่งยืน” และหวังว่าจะมีการดำเนินงานอย่างบูรณาการ โดยมีเยาวชนเป็นผู้เริ่ม เสนอ และทำร่วมกันในอนาคต

ก่อนจบการเสวนาคุณเอริกาได้กล่าวถึงแผนการดำเนินงานในปีถัดไปของ Youth In Charge เพื่อขับเคลื่อน Soft Power ผ่าน 1) ขยายการมีส่วนร่วมของเยาวชนทั่วประเทศ เพราะยังมีเยาวชนอีกมากที่มีศักยภาพแต่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล 2) รวบรวมเครือข่าย Soft Power Ambassadors ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างเยาวชน ตลาด เครือข่าย และการต่อยอดเป็นธุรกิจและรายได้ อักทั้งมาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมให้เยาวชนได้เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มีอาชีพ และรายได้ ผ่าน Soft Power Academy และ 3) สร้าง Soft Power Marketplace โดยเยาวชน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ท้ายที่สุด Youth In Charge 4) มุ่งมั่นที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มในระดับสากลเพื่อให้เยาวชนต่างชาติและเยาวชนไทยได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และทำงานร่วมกัน เพื่อการขับเคลื่อน Soft Power Movement ที่แท้จริง

 

#youthincharge #youthpowerขับเคลื่อนsoftpower #softpower #youthinchargesoftpowerambassador

bottom of page